
หลวงปู่บุญ ขันธโชติ วัดกลางบางแก้ว นครปฐม
หลวงปู่บุญ ขันธโชติ วัดกลางบางแก้ว พระเกจิผู้โด่งดังแห่งเมืองนครปฐม ท่านเป็นผู้สร้างวัตถุมงคล พระเครื่อง และเครื่องรางไว้มากมาย เช่น พระบูชาไม้แกะ, พระเนื้อผงยา, พระเนื้อดิน, พระเนื้อโลหะ, พระเนื้อชิน ส่วนของเครื่องรางของขลัง ที่เป็นที่นิยมตลอดมาก็มี เม็ดยาวาสนาจินดามณี, ผ้ายันต์, งาแกะ, ตะกรุด และเบี้ยแก้ ซึ่งนับเป็นเครื่องรางที่ติดหนึ่งในสาม เบี้ยแก้สุดยอดแห่งเมืองไทย วัตถุมงคลที่หลวงปู่บุญสร้างล้วนเป็นที่ต้องการของผู้ศรัทธามาจนทุกวันนี้
และที่ขาดเสียมิได้นั่นก็คือ เหรียญเจ้าสัว หรือ พระเจ้าสัว ซึ่งเป็นต้นตำรับของดั้งเดิมต้องเป็น เหรียญเจ้าสัวหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม นับเป็นที่หนี่ง

.
.
ที่มาชื่อ “เจ้าสัว”
เหรียญเจ้าสัว เดิมเรียกว่า เหรียญหล่อซุ้มกระจัง หรือ เหรียญหล่อบัวคว่ำบัวหงาย
และคำว่า เจ้าสัว ซึ่งเป็นภาษาจีน หมายถึง คหบดี ผู้มีฐานะสูง จัดว่าเจ้าสัวนั้นร่ำรวยเถ้าแก่หลายเท่านัก
.
.
.
การที่เหรียญซุ้มกระจัง หรือ เหรียญหล่อบัวคว่ำบัวหงาย ถูกเปลี่ยนชื่อนั้นเป็นเพราะ ในสมัยนั้น ผู้ที่บูชาเหรียญรุ่นนี้ ได้แก่ เจ้าสัวหยุด เจ้าสัวชม เจ้าสัวโป๊ะ ชมภูนิช เจ้าสัวเป้า บุญญานิตย์ และกำนันแจ้ง ทุกคนล้วนแต่มีฐานะร่ำรวย ผู้ที่มีเหรียญนี้ไว้ล้วนแต่อุดมด้วยโชคลาภ ทรัพย์สินพูนทวี มีฐานะ จึงมักเรียกเหรียญรุ่นนี้กันว่า “เหรียญเจ้าสัว”
เหรียญเจ้าสัว ถูกสร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2477 เมื่อคราวทำบุญอายุหลวงปู่บุญ ครบ 7 รอบ 84 ปี โดย พระวินัยกิจโกศล อดีตเจ้าอาวาสวัดกัลยาณมิตร เป็นผู้จัดสร้างถวาย หลังจากหล่อเป็นพระเสร็จ หลวงปู่บุญได้อธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว ในครั้งนั้นพระวินัยโกศล ได้แบ่งเหรียญซุ้มกระจังจำนวนหนึ่ง นำกลับไปแจกแก่ญาติโยมที่วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯ
ส่วนหลวงปู่บุญ ได้นำมาแจกที่ วัดกลางบางแก้ว จำนวนหนึ่ง ที่เหลือบรรจุไว้บนเพดานมณฑปพระพุทธบาทจำลองภายในวัด ต่อมา เมื่อปี พ.ศ.2516 ทางวัดได้เปิดกรุนำเหรียญหล่อเจ้าสัว ออกมาให้ผู้ศรัทธาบูชา เพื่อนำปัจจัยบูรณะวัด
.

.
พุทธคุณ
เหรียญเจ้าสัว หลวงปู่บุญ เชื่อกันว่าผู้ใดได้พกพาบูชาเหรียญเจ้าสัวเป็นประจำ หากผู้นั้นเป็นคนดี มีธรรมะ ไม่ว่าทำมาค้าขายสิ่งใดทำด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เป็นต้องเจริญรุ่งเรือง ร่ำรวยได้ถึงระดับเจ้าสัว
.
.

.
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก…
.
Th.wikipedia.org
Pinterest.com
matichon.co.th/
posttoday.com/
FB พุทธบารมี
jramulet.com/
anurakmag.com/
thaprachan.com / ท่าพระจันทร์ดอทคอม
samakomphra.com/ สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย