หลวงพ่อวงศ์ วัดบ้านค่าย จ.ระยอง

แชร์บทความ

พระครูวิจิตรธรรมานุวัติ หรือ หลวงพ่อวงศ์ แห่งวัดบ้านค่าย ท่านถือกำเนิดเมื่อปี พ.ศ.2400
ที่บ้านหนองตาเสี่ยง ตำบลหนองละลอก อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง โยมบิดาชื่อ นายน้อย โยมมารดาชื่อ นางเอี่ยม มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ทั้งหมด 9 คน หลวงพ่อเป็นคนที่ 4 ครอบครัวมีอาชีพทำนา เมื่อหลวงพ่ออายุยังน้อย บิดาได้ตายจากไปเสียก่อน ท่านจึงได้ช่วยมารดาทำนาเลี้ยงน้องๆโดยกู้เงินเขามาซื้อควาย เเล้วทำนาปลดหนี้กู้เขาจนหมดในปีเดียว

เมื่อถึงอายุ 14 ปี มารดาไปนำไปฝากเลี้ยงไว้ที่สำนักวัดบ้านค่ายเพื่อเรียนหนังสือ โดยนำไปฝากกับ (พระอาจารย์กลั่น วัดบ้านค่าย) ซึ่งในสมัยนั้นไม่มีโรงเรียนเหมือนสมัยนี้ ใครจะเรียนหนังสือต้องไปเรียนที่วัด จังหวัดระยองในสมัยนั้นมีสภาพเป็นป่าเกือบทั้งจังหวัด ในตัวเมืองระยองก็มีบ้านอยู่ไม่กี่หลัง ถนนหนทางก็ไม่มี มีเเต่ทางเกวียน จะไปกรุงเทพฯ ต้องไปลงเรือที่ปากน้ำระยอง นั่งเรือกันหลายวันกว่าจะไปถึงกรุงเทพฯ ดังนั้นใครจะไปเรียนหนังสือ จะต้องมีความมานะพยายามเป็นอย่างดี หนังสือที่เรียนก็เป็นหนังสือ ขอมไทยเเละหนังสือไทย ความประสงค์ของกุลบุตรที่เข้ามาเรียนในวัด ส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องการบวชเป็นสำคัญเช่นเดียวกับหลวงพ่อ

อุปสมบท

เมื่ออายุครบบวชท่านจึงได้อุปสมบท ณ วัดบ้านค่าย เมื่อปี พ.ศ.2423 โดยมี (หลวงปู่สังข์เฒ่า) เป็นพระอุปัชฌาย์ (พระอาจารย์ดี วัดบ้านค่าย) เป็นพระกรรมาจารย์ (พระอาจารย์ห่วง วัดหนองกะบอก) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ (หลวงปู่สังข์เฒ่า) ท่านนี้ท่านเป็นบูรพาจารย์สรรพวิชาแห่งบ้านค่าย เเละเป็นผู้สร้างวัดละหารไร่อีกด้วย

เมื่อบวชเเล้ว หลวงพ่อวงศ์ ก็ได้จำพรรษาอยู่ ณ วัดบ้านค่าย จนถึงพรรษาที่ 10 ประมาณปี พ.ศ.2433 (พระอาจารย์ดี) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านค่ายได้มรณภาพลง (พระยาศรีสมุทรโภคโชคชัยชิตสงคราม) ผู้ว่าราชการจังหวัดระยองในสมัยนั้น จึงมอบให้หลวงพ่อเป็นผู้รักษาวัดบ้านค่าย ต่อมา (พระครูสมุทรสมานคุณ) เจ้าคณะจังหวัดระยองในสมัยนั้น ได้เเต่งตั้งให้ หลวงพ่อวงศ์ เป็นเจ้าอธิการวัดบ้านค่าย มีอำนาจหน้าที่ในการปกครองวัดบ้านค่ายโดยสมบูรณ์ ในปี พ.ศ.2446

หลวงพ่อวงศ์มีพรรษาได้ 24 พรรษา อายุ 46 ปี (สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์) สมัยดำรงค์สมณศักดิ์ เป็นที่ (พระสุคุณคณาภรณ์) เจ้าคณะมณฑลจันทบุรี ได้นัดพระเถระผู้ใหญ่ รวม 20 วัด ที่วัดเก๋ง เพื่อเเต่งตั้งให้หลวงพ่อวงศ์ ดำรงตำเเหน่งเจ้าคณะเเขวงอำเภอ บ้านค่ายในวันเเรก ท่านไม่ยอมรับ ท่านเจ้าคณะมณฑลจันทบุรี ก็ให้พระผู้ใหญ่ซึ่งมาประชุมในวันนั้นกลับไปก่อน เเละนัดให้มาประชุมใหม่ในวันรุ่งขึ้น วันรุ่งขึ้นเมื่อฉันเช้าเเล้ว ตีระฆังเข้าประชุมในโบสถ์วัดเก๋งพร้อมกันเเล้ว ท่านเจ้าคณะมณฑลจันทบุรี ได้ประกาศต่อหน้าที่ประชุมสงฆ์ทั้งหมดว่า “ท่านวงศ์ ฉันให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ในสามอย่างคือ” 1.ให้รับ 2.ให้สึก 3.ให้ไปเสียต่างเมือง

เมื่อหลวงพ่อวงศ์ ถูกยื่นคำขาดเช่นนี้ ท่านจึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากยอมรับ เมื่อหลวงพ่อยอมรับพระสงฆ์ทั้งหมดซึ่งมาประชุมกัน ณ ที่นั้นก็สวดชะยันโต เเละอนุโมทนาสาธุขึ้นพร้อมกันเป็นอันเสร็จพิธีเเต่งตั้งเจ้าคณะเเขวงบ้านค่าย หรือ เจ้าคณะอำเภอบ้านค่ายปัจจุบัน นับว่าหลวงพ่อวงศ์เป็นเจ้าคณะเเขวงองค์เเรก ของอำเภอบ้านค่าย มีวัดในเขตปกครองของอำเภอบ้านค่าย 16 วัด
ต่อมาในปี พ.ศ.2461 หลวงพ่อวงศ์ ได้รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ถึงปี พ.ศ.2472 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรสมณศักดิ์ เป็นที่ “พระครูวิจิตรธรรมานุวัติ”

ความสามารถของ หลวงพ่อวงศ์ วัดบ้านค่าย ระยอง นับได้ว่าน่าทึ่ง น่าเลื่อมใสศรัทธา โดยเฉพาะหลวงพ่อวงศ์ ระยอง ท่านมีความสามารถยิ่งในวงการพระสงฆ์ไทย ความชำนาญของหลวงพ่อวงศ์ ระยอง ท่านกระทำได้ทุกอย่าง เเละมีความชำนาญเสียด้วย ปีตกสิณ คือ การเพ่งสีเหลือง เเล้วอธิฐานจิตให้กลายสภาพเป็นอย่างอื่นนี้ ในประวัติของท่านได้กล่าวไว้ว่า คราวใดถ้ามีพระสหธรรมิก ผู้สนิทชื่นชอบกันเดินทางมาเยี่ยมเยือน หรือมาเพื่อเเลกเปลี่ยนวิชาความรู้กันนั้น หลวงพ่อวงศ์ ระยอง มักจะทำอะไรพิเศษๆให้ดู เเละโอกาสนี้บรรดาลูกศิษย์ที่อยู่ปรนนิบัติก็พลอยเป็นบุญตาไปด้วย

ดังคราวนี้ หลวงพ่อวงศ์ วัดบ้านค่าย ระยอง ท่านได้หยิบใบพลูสดๆ สีเขียวมาจากเชี่ยนหมาก เเล้วก็วางไว้บน ขวามือ มืออีกข้างหนึ่งมาประกบไว้ ปากก็บริกรรมคาถา มือท่านก็ถูใบพลูไปมา ครู่เดียวเท่านั้นความอัศจรรย์ก็เกิดขึ้น คือใบพลูที่สีเขียวสดนั้นบัดนี้ได้กลายเป็นสีทองเหลืองอร่ามไปเสียเเล้ว ท่านส่งไปให้พระสหธรรมิกชม ส่งไปดูกันรอบๆ กลับมาถึง ท่านเเล้ว ท่านได้โยนลงกระโถนพร้อมพูดว่า นี่มันเป็นของไม่จริง เราสร้างขึ้นเอง อำนาจของปีตกสิณ สามารถกระทำสิ่งใดก็ได้ตามที่ใจปราถนา นอกจากนี้บรรดาลูกศิษย์ทั้งพระเณรฆราวาส ก็ยังได้ดูของวิเศษหลายอย่างอีกด้วย เช่น หลวงพ่อวงศ์ท่านเอาผ้าเช็ดปากเช็ดน้ำหมากมาถือ เพราะท่านฉันหมากพลู บริกรรมชั่วครู่เดียวท่านก็โยนผ้าลงไป กลายเป็นตะขาบตัวเขื่องคลานวนเวียนไปมา บางคราวท่านก็เอาผ้าอีกนั้นเเหละ เสกบริกรรมชั่วครู่เดียว กระต่ายสีขาววิ่งไปมาทั่วกุฏิของท่านเเละนี่คือความจริงที่หลวงพ่อวงศ์ วัดบ้านค่าย ระยอง ได้กระทำให้เกิดขึ้นมาเเล้วในอดีต

บั้นปลายชีวิต

รู้มรณกาล เรื่องมรณภาพของ หลวงพ่อวงศ์ ระยอง คือ ก่อนมรณภาพ หลวงพ่อวงศ์ วัดบ้านค่าย ระยอง ชรามาก เพราะเป็นผู้ที่บากบั่นทำการงานหนักมาเเต่อายุน้อย เเม้บวชเเล้วก็ทำงานในด้านพัฒนาวัด ทั้งเมื่อได้รับเเต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะเเขวงเเละพระอุปชฌาย์ ตลอดจนเมื่อได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ก็มีกิจนิมนต์ต่างๆ ทั้งในด้านบวชกุลบุตรซึ่งจะต้องเดินทางรอนเเรมไปในที่ต่างๆทั้งใกล้เเละไกล ประกอบกับการเดินทางในสมัยนั้นไม่มียานพาหนะที่จะอำนวยความสะดวกเช่นในปัจจุบันนี้ ต้องใช้เกวียนไปจึงเหน็ดเหนื่อยมาก ก่อนหลวงพ่อวงศ์ วัดบ้านค่าย ระยอง จะมรณภาพไม่นาน ท่านจะพูดว่า ใบไม้เหลืองเเล้วก็ต้องร่วง ใบอ่อนก็ผลิเเตกขึ้นมาเเทนเป็นธรรมดาของโลก วันสองวันกูก็จะสบายเเล้ว มอบวัดให้คุณดิ่ง ครอง 2 วัดคือ วัดบ้านค่าย เเละ วัดไผ่ล้อม 

หลังจากได้ปรารถถึงความตายเเล้ว ท่านก็จัดการกับลูกศิษย์ของท่านชื่อ นายไหล ซึ่งมาอยู่วัดกับหลวงพ่อตั้งเเต่อายุ 5 ขวบ จนถึง 13 ขวบ โดยให้นายไหลไปอยู่กับหลวงพ่อทบ วัดกะบกขึ้นผึ้งเป็นการจัดการเรื่องของศิษย์ที่ท่านเป็นห่วงอยู่เป็นที่เรียบร้อย ในวันมรณภาพนั้น หลังจากฉันเช้าเเล้ว ท่านพูดพึมพำว่า ถึงเวลาเเล้วก็กลับไป เเล้วสั่งว่า ถ้าท่านมรภาพเวลาปลงศพให้ใส่เปลือกข่อยลงไปด้วย หลังจากนั้นหลวงพ่อก็ถือพิมพ์ยาไปกดพิมพ์เป็นลูกกลอน เมื่อกดพิมพ์ได้พอสมควรเเล้วก็มานั่งปั้นเป็นลูกกลอน ขณะที่ปั้นอยู่นั้นหลวงพ่อวงศ์ ระยอง นั่งตะเเคงมรณภาพด้วยอาการสงบ ตรงกับที่หลวงพ่อเคยปรารถไว้ทุกประการ ในการปลงศพของหลวงพ่อวงศ์ ระยอง นั้น เมื่อจุดไฟประชุมเพลิงปรากฎว่าจุดไฟไม่ติด ได้พยายามจุดกันหลายหนก็ไม่ติด จนนายไหลซึ่งเป็นศิษย์นึกถึงคำสั่งของหลวงพ่อวงศ์ วัดบ้านค่าย ระยอง ก่อนมรณภาพ จึงไปถากเปลือกข่อย มาสุมไฟจึงติดเเละประชุมเพลิงได้ ในขณะที่ไฟกำลังลุกอยู่นั้น บรรดาผู้ที่มาร่วมกันประชุมเพลิงได้เห็นไก่ขาวบินจากทางทิศเหนือผ่านซุ้มประตูข้ามเมรุ บินหายเข้าไปกุฏิหลวงพ่อ จากเหตุที่ไก่ขาวบินเข้าไปในกุฏิหลวงพ่อนั้นเป็นนิมิตทำนองบอกใบ้ไว้ว่า ถัดจากหลวงพ่อวงศ์ วัดบ้านค่าย ระยอง จะมีอาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษอีกท่านหนึ่งมาอยู่ที่วัดบ้านค่าย นั้นก็คือหลวงพ่อดิ่งนี่เอง ซึ่งเป็นศิษย์องค์เเรกที่หลวงพ่อวงศ์ ระยองอุปสมบทให้

รวมสิริอายุของ หลวงพ่อวงศ์ ระยอง หรือ ท่านพระครูวิจิตรธรรมานุวัติ เเห่งวัดบ้านค่าย ได้ 83 ปี รวมพรรษา 59 ปี 

ติดต่อลงประกาศข้อมูลพระเครื่อง

บทความเพิ่มเติม